รมช.คลังพบชาวอุดรธานี

รมช.คลังพบชาวอุดรธานี

รมช.คลัง เปิดงานมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ลานเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี .เมือง .อุดรธานี พร้อมทั้งร่วมมอบผ้าห่มสู้ภัยหนาวให้แก่เกษตรกรผู้ร่วมงาน 1,000 กว่าราย

วันที่ 21 ..2566 เวลา 14.00 .นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมด้วย นายสมัคร บุญปก รองนายกอบจ.อุดรธานี ร่วมให้การต้อนรับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง(รมช.คลังและคณะผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการเปิดงานมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ลานเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี .เมือง .อุดรธานี โดยมี นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รอง ผวจ.อุดรธานี (กล่าวต้อนรับ) , ..อุดรธานี ,.อบจ.อุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการรอง ผจก.ธนาคาร ,คณะผู้บริหารและ พนง.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสื่อมวลชนและผู้มีเกียรติร่วมให้การต้อนรับ รมช.คลัง และคณะฯ อย่างอบอุ่นพร้อมทั้งร่วมมอบผ้าห่มสู้ภัยหนาวให้แก่เกษตรกรผู้ร่วมงาน 1,000 กว่าราย

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลังกล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย ตามนโยบายรัฐบาลในวันนี้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาหนี้และการช่วยเหลือเกษตรกร รวมถึงลูกหนี้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาคของเชื้อไวรัส COVD-19 ตามมาด้วยริกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นนโยบายในลำดับต้น  ที่รัฐบาล นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง(รมต.คลัง)จะเข้าไปเร่งแก้ไข เพื่อทำให้พี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจฐานราก ให้มีความเข้มแข็ง เมื่อกลไกพื้นฐานมีความมั่นคง การขยายผลหรือต่อยอดไปสู่ระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ก็จะยิ่งเข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนมาต

รการพักชำระหนี้ในครั้งนี้ รัฐบาลมิได้มุ่งหวังแค่ลดภาระหนี้หรือบรรเทาความเตือดร้อนให้แก่พี่น้องเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะให้พี่น้องเกษตรกร ก้าวพ้นกับดักหนี้ที่มีอยู่ได้อย่างแท้จริง โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ การเติมความรู้และพัฒนาทักษะ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า เข้ามาเสริมหรือเพิ่มคุณค่าผลผลิต การลดต้นทุน การต่อยอด การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง การแปรรูปและการปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่กิจกรรมใหม่  ที่ตลาดมีความต้องการ เป็นต้นเพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ดังนั้น มาตรการพักชำระหนี้ครั้งนี้จะเป็นโอกาส สร้างโมเดลใหม่ ๆในการพัฒนาความรู้ทักษะอาชีพ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศที่จะร่วมมือกัน ในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า โดยมี ..ซึ่งมีความใกล้ชิดกับเกษตรกรในทุกพื้นที่ ร่วมเคียงข้างในการดูแลและสนับสนุนเงินลงทุน เพื่อผลักดันให้ทุกท่านได้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน

………………………………………………

Share

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed